เมนู

บุคคลนั้น เรียกว่า ไม่ตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากความ
กำหนัด ไม่ตระหนี่.
[435] คำว่า มุนี ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ย่อมไม่กล่าว
ในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวใน
ความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา
ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรม
เป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี บุคคลผู้เป็น
มุนี ย่อมไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลงว่า เราเป็น
ผู้ดีกว่าเขาบ้าง เราเป็นผู้เสมอเขาบ้าง เราเป็นผู้เลวกว่าเขาบ้าง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา
ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา.

ว่าด้วยความกำหนด 2 อย่าง


[436] ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด
ย่อมไม่ถึงความกำหนด ได้แก่ความกำหนด 2 อย่าง คือ ความกำหนด
ด้วยตัณหา 1 ความกำหนดด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วย
ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความกำหนด
ด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความ
กำหนดด้วยตัณหา สละความกำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่ถึง คือ ย่อมไม่
เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งความกำหนดด้วย
ทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่ถึงความกำหนด.
ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ได้แก่

ความกำหนด 2 อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา 1 ความกำหนดด้วย
ทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนด
ด้วยทิฏฐิ บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน ความกำหนด
ด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความ
กำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่กำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วย
ทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลนั้นเป็นมุนี ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่
ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความ
เป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา เป็นผู้
ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด.

[433] ผู้ใดไม่มีความถือว่าของในในโลก เมื่อสิ่งที่ถือว่า
ของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก และไม่ถึงความลำเอียง
ในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ.


ว่าด้วยผู้ไม่ความยึดถือ


[438] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตนใน
โลก
คือ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ไม่มีความถือว่าของตน คือ ผู้ใด
ไม่ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจถึง